กรรณิการ์ หรือ ดอกกรรณิการ์ หรือในชื่อสามัญ "Night blooming jasmine" เป็นหนึ่งในไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดี ซึ่งในบทความนี้ผมได้นำเอา 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกรรณิการ์มาฝากกัน ซึ่งมีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ที่บทความนี้เลยครับ.. O_O
ดอกกรรณิการ์ มีสีของดอกเป็นสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง โดยแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-8 ดอก บนช่อแยกแบบกระจุก แยกแขนงแบบแยกสาม มีใบประดับรองดอก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง กลีบของดอกบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีส้มแดง ในหนึ่งดอกมี 4-8 กลีบ ขนาดดอกเวลาบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ 1.5 - 2 เซนติเมตร มีกลิ่มหอมแรง ออกดอกตลอดทั้งปี โดยจะบานและส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และจะร่วงหล่นในเวลาเช้ามืดหรือกลางวัน
กรรณิการ์ ถึงแม้จะเป็นไม้ดอกแต่ก็มีผลเช่นกัน โดยผลจะมีลักษณะแบบแคปซูล กลม แบน คล้ายรูปหัวใจ ปลายมีติ่งสั้นๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแยกออกเป็น 2 ส่วน ภายในมีเมล็ดอยู่ 1-2 เมล็ด หรือ ซีกละเมล็ด
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกรรณิการ์
- ชื่อไทย : กรรณิการ์
- ชื่อสามัญ : Night blooming jasmine
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.
- ชื่ออื่นๆ : กณิการ์, กรณิการ์
- วงศ์ : Oleaceae
ลักษณะของต้นและดอกกรรณิการ์
กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-5 เมตร และสูงสุดไม่เกิน 10 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น กิ่งก้านมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อน ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงกันตรงข้ามเป็นคู่ๆ ใบโค้งมนเป็นวงรี ปลายใบแหลม ผิวของใบเรียบ สาก มีขนขึ้นเล็กน้อยดอกกรรณิการ์ มีสีของดอกเป็นสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง โดยแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-8 ดอก บนช่อแยกแบบกระจุก แยกแขนงแบบแยกสาม มีใบประดับรองดอก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง กลีบของดอกบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีส้มแดง ในหนึ่งดอกมี 4-8 กลีบ ขนาดดอกเวลาบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ 1.5 - 2 เซนติเมตร มีกลิ่มหอมแรง ออกดอกตลอดทั้งปี โดยจะบานและส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และจะร่วงหล่นในเวลาเช้ามืดหรือกลางวัน
กรรณิการ์ ถึงแม้จะเป็นไม้ดอกแต่ก็มีผลเช่นกัน โดยผลจะมีลักษณะแบบแคปซูล กลม แบน คล้ายรูปหัวใจ ปลายมีติ่งสั้นๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแยกออกเป็น 2 ส่วน ภายในมีเมล็ดอยู่ 1-2 เมล็ด หรือ ซีกละเมล็ด
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกรรณิการ์ 10 เรื่อง
- เป็นดอกไม้ที่ถูกกล่าวถึงในกาพย์ห่อโคลง นิราศธารอโศก "กรรณิการ์ ก้านสีแดง คิดผ้าแสดติดขลิบนาง เห็นเนื้อเรื่อโรงนาง ห่มสองบ่าอ่านโนเน"
- กรรณิการ์ ถูกนำไปใช้ในการตั้งชื่อให้กับสิ่งต่างๆ มากมาย
- คนสมัยก่อนนิยมใช้กรรณิการ์มาเป็นวัตถุดิบเพื่อทำการย้อมสีผ้า
- ก้านดอกกรรณิการ์ สามารถนำมาใช้คั้นเป็นน้ำเพื่อเป็นสีของขนม สีของน้ำหอม
- นอกจากประโยชน์ทั่วไปแล้ว กรรณิการ์ ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย
- เปลือกกรรณิการ์ สามารถนำมาต้มรับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดศรีษะ
- ดอกกรรณิการ์ สามารถนำคั้นเป็นน้ำเพื่อใช้แก้เป็นลม วิงเวียนศรีษะ เป็นยาระบาย และใช้เป็นยาขมเพื่อช่วยให้เจริญอาหาร
- รากกรรณิการ์ มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ป้องกันผมหงอกและบำรุงผิวหน้า
- กรรณิการ์ ถูกเรียกในอีกชื่อว่า "ปาริชาติ"
- เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย สุมาตรา และชวา
ป้ายกำกับ :
สาระน่ารู้