ต้นกาหลง (Snowy Orchid Tree) ชื่อที่อาจจะคุณหูของใครหลายๆ คน แต่มี 9 อย่าง ที่คุณอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับมัน ซึ่งมีอะไรกันบ้าง ติดตามอ่านได้ที่บทความนี้เลยครับ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวต้นกาหลง
- ชื่อไทย : กาหลง
- ชื่อสามัญ : Snowy Orchid Tree
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia acuminata.
- ชื่ออื่นๆ : เสี้ยวน้อย เสี้ยวดอกขาว ส้มเสี้ยว
- วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะของต้นและดอกกาหลง
ต้นกาหลง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะต้นเป็นทรงพุ่ม ซึ่งง่ายต่อการตัดแต่งให้สวยงาม จึงทำให้นิยมนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน กาหลงเป็นไม้ผลัดใบในฤดูหนนาว แตกใบอ่อนในฤดูร้อน และเริ่มออกดอกในฤดูฝน โดยจะออกดอกตามข้อโคนของก้านใบดอกกาหลง มีลักษณะยอดดอกเป็นสีขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงทับซ้อนกัน มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยเกสรตัวผู้จะมีลักษณะเป็นเส้นสีขาวคล้ายเส้นด้าย ยื่นออกมาจากดอกประมาณ 5 เส้น ปลายเกสรจะเป็นตุ่มสีเหลืองสดใส ส่วนเกสรตัวเมียจะมีเขียวอ่อน อยู่ที่กึ่งกลางดอกและมีอยู่เส้นเดียว เมื่อดอกกาหลงบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร และในหนึ่งช่อจะมีดอกประมาณ 5-8 ดอก และจะผลัดกันบานคราวละ 2-3 ดอก
กาหลง เป็นต้นไม้ที่ชอบอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง ปลูกขึ้นง่ายในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมาก ชอบแดดจัดและขยายพันธุ์ได้ง่าย
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับต้นกาหลง 9 อย่างที่คุณอาจไม่รู้
- กาหลงเป็นต้นไม้ที่อยู่ในวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์, ลิลิตพระลอ, และนิราศสุนทรภู่
- กาหลงถูกนำมาใช้ในการตั้งชื่อนิยายและนำไปสร้างเป็นละคร เช่น เรือนกาหลง
- ชาวจีนรุ่นเก่าๆ นิยมปลูกกาหลง เพราะเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ให้คุณค่าแก่เจ้าของบ้าน
- ดอกกาหลงเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ และออกดอกตลอดทั้งปี
- คนไทยในอดีตนิยมนำส่วนต่างๆ ของกาหลงมาทำเป็นสมุนไพรเพื่อใช้ลักษณะโรค
- ดอกกาหลง ใช้แก้ปวดศรีษะ ลดความดัน แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อาเจียนเป็นเลือด
- ต้นกาหลง ใช้แก้โรคสตรี, แก้อาการลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
- รากกาหลง ใช้แก้ไอ แก้ปวดศรีษะ ขับเสมหะ แก้บิด
- ใบกาหลง ใช้รักษาแผลในจมูก
เขียนและเรียบเรียงโดย
GotenSum | บล็อกสารพัดเรื่อง
GotenSum | บล็อกสารพัดเรื่อง
ป้ายกำกับ :
สาระน่ารู้