การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง "กระบวนการหรือวิธีการที่มนุษย์นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมหรือใช้ในการจัดระเบียบสมาชิกในสังคมให้มีความเป็นระเบียบและอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย" หลังจากที่เรารู้ความหมายของ "การจัดระเบียบทางสังคม" แล้ว เราก็ควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ การจัดระเบียบทางสังคม ด้วย ซึ่งสามารถศึกษาได้จากเนื้อหาต่อไปนี้เลยครับ
4. การควบคุมทางสังคม หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานของสังคม โดยการควบคุมทางสังคมสังคมนั้นมีวิธีการที่นิยมใช้อยู่ 2 วิธีการด้วยกัน คือ
ความจำเป็นของ "การจัดระเบียบทางสังคม"
- เพื่อป้องกันและลดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
- เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมเป็นไปด้วยดี
- เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบ สันติ
เครื่องมือ / วิธีการ / กระบวนการใน "การจัดระเบียบทางสังคม"
1. บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติตนของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งบรรทัดฐานทางสังคมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ- วิธีประชาหรือวิถีชาวบ้าน คือ ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติกันมาด้วยความเคยชินจนกลายเป็นที่ยอมในสังคม หากผู้ใดละเมิดหรือไม่ปฏิบัติจะมีบทลงโทษในลักษณะของการติเตียน นินทา เช่น การเจอผู้ใหญ่แล้วไม่ยกมือสวัสดี หรือการเจอครูแล้วไม่สวัสดี การกระทำดังกล่าวจะถูกตำหนิว่าเป็นคนที่ไม่มีมารยามทางสังคม เป็นต้น
- จารีต คือ ระเบียบแบบแผนที่มีหลักเกณฑ์มาจากความเชื่อทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ หากกระทำผิดจะได้รับการตำหนิที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น การอกตัญญูต่อบิดามารดา, การเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาของผู้อื่น เป็นต้น การกระทำดังกล่าวจะถูกประนามจากสมากชิกในสังคมอย่างรุนแรง บางทีอาจมีการขับไล่ไม่ให้อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันเลยทีเดียว
- กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นข้อบังคับและมีบทลงโทษที่ชัดเจนตามสิ่งที่ทำ เช่น การขโมย, การข่มขืน, การขับรถผิดกฎจราจร, การฆ่าคนตาย การกระทำดังกล่าวเหล่านี้จะมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น ถูกปรับ, ถูกขังในเรือนจำ, ถูกประหารชีวิต เป็นต้น
- สถานภาพที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด เช่น สถานภาพทางเพศ, สถานภาพความเป็นบุตร, สีผิว, ศาสนา, เชื้อชาติ เป็นต้น
- สถานภาพที่ได้หลังกำเนิดหรือได้มาด้วยความสามารถ เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน (หัวหน้า, ผู้บริหาร, ผู้จัดการ), สถานภาพความเป็นพ่อแม่, สถานภาพทางวิชาการ (ศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจาร์, ด็อกเตอร์) เป็นต้น
4. การควบคุมทางสังคม หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานของสังคม โดยการควบคุมทางสังคมสังคมนั้นมีวิธีการที่นิยมใช้อยู่ 2 วิธีการด้วยกัน คือ
- การจูงใจ (เสริมแรงทางบวก) หมายถึง การให้รางวัลแก่สมาชิกในสังคมโดยการให้สิ่งที่สมาชิกในสังคมอยากได้ เช่น การเลี้ยงดูบุตร การเลี้ยงดูพ่อแม่ จะได้รับการลดหย่อนภาษี เป็นต้น
- การลงโทษ (ลงโทษทางลบ) หมายถึง การให้บทลงโทษแก่สมาชิกในสังคมโดยการให้สิ่งที่สมาชิกในสังคมไม่อยากได้รับ เช่น การตำหนิ การจำคุก การประหารชีวิต เป็นต้น
ป้ายกำกับ :
สาระน่ารู้