ธงชาติไทย 18 เรื่องที่คุณอาจรู้หรือไม่รู้เกี่ยวกับธงชาติในปัจจุบัน

ธงชาติไทย เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เราจึงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภูมิใจในเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย

ธงชาติไทย

ผมว่าหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับประโยคนี้กันแน่ๆ บทความนี้ก็ไม่มีอะไรมากมายครับ เพียงแค่อยากจะนำความรู้ที่หลายคนอาจรู้หรือไม่รู้เกี่ยวกับธงชาติมาให้ได้อ่านกันก็เท่านั้น เพื่อไม่การเสียเวลา มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
  1. ธงชาติไทย เรียกอีกอย่างว่า "ธงไตรรงค์" ซึ่งคำว่า "ไตร หมายถึง สาม" และ "รงค์ หมายถึง สี" ดังนั้นอาจเรียกธงไตรรงค์อีกอย่างได้ว่า "ธง 3 สี"
  2. สีที่อยู่ในธงชาตินั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 สี คือ สีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน
  3. แถบสีของธงชาตินั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 แถบ โดยแถบในสุด หรือ แถบที่อยู่ตรงกลาง คือแถบสีน้ำเงิน มีขนาดเป็น 2 เท่าของแถบสีอื่นๆ ถัดมา หรือ แถบที่ 2-3 คือ สีขาว มีขนาดแถบครึ่งหนึ่งของแถบสีน้ำเงินแต่มีอยู่ด้วยกัน 2 แถบ ประกบแถบสีน้ำเงินเอาไว้ และแถบด้านนอกสุด หรือ แถบที่ 4-5 คือ สีแดง มีขนาดและจำนวนแถบเท่ากับสีขาวประกบอยู่ด้านนอกสุด
  4. ธงชาติปัจจุบันถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ซึ่งมีผลบังคับใช้หลังวันประกาศ 30 วัน หรือ บังคับใช้ในราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2460
  5. ธงชาติไทยปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นมาใช้ด้วยเหตุที่ว่า "ต้องการให้เป็นอนุสรณ์สำหรับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร"
  6. ธงชาติปัจจุบันของไทย ถูกออกแบบโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
  7. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้นิยามความหมายของสีต่างๆ ของธงไว้ดังนี้
    1) สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
    2) สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งศาสนาและธรรมมะ
    3) สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
    ซึ่งความหมายของสีในธงชาติไทยปัจจุบัน อาจเรียกความหมายง่ายๆ ได้ คือ "สีแดง หมายถึง ชาติ" , "สีขาว หมายถึง ศาสนา" และ "สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์"
  8. สีของธงชาติยังได้ก่อกำเนิดอุดมการณ์ของรัฐชาติไทยที่ว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"
  9. กฎหมายเกี่ยวกับการมีธงชาติและการชักธงชาตินั้นระบุไว้ว่า สถานที่ราชการและสถานที่อันสมควรต่างๆ จะต้องดำเนินการประดับธงชาติเป็นการถาวรและมีการชักธงชาติขึ้นและลงตามที่ราชการกำหนด ยกเว้นภาคเอกชนและบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป
  10. กฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องชักธงชาติในโอกาสและวันสำคัญดังต่อไปนี้
    1) วันขึ้นปีใหม่ (วันที่ 1 มกราคม)
    2) วันมาฆบูชา
    3) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
    4) วันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน)
    5) วันฉัตรมงคล (วันที่ 5 พฤษภาคม)
    6) วันพืชมงคล
    7) วันวิสาขบูชา
    8) วันอาสาฬหบูชา
    9) วันเข้าพรรษา
    10) วันแม่แห่งชาติ หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (วันที่ 12 สิงหาคม)
    11) วันสหประชาชาติ (วันที่ 24 ตุลาคม)
    12) วันพ่อแห่งชาติ หรือวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันที่ 5 ธันวาคม) และต่อไปอีก 2 วัน คือ วันที่ 6 และ 7 ธันวาคม
    13) วันรัฐธรรมนูญ (วันที่ 10 ธันวาคม)
  11. การลดธงชาติให้อยู่ "ครึ่งเสา" จะต้องทำตามประกาศของทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่อนุญาติให้ถือวิสาสะลดธงให้เหลือครึ่งเสาได้เอง
  12. การชักธงชาติขึ้น กำหนดไว้ว่า ให้ชักธงขึ้นเวลา 08.00 น.
  13. การชักธงชาติลง กำหนดไว้ว่า ให้ชักธงลงเวลา 18.00 น.
  14. ในการประดับธงชาติไทยนั้น จะต้องให้ธงชาติอยู่เหนือธงอื่นๆ
  15. ระเบียบของทางสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่า เมื่อได้ยินเพลงชาติหรือมีการชักธงชาติ ให้ผู้ที่ได้ยินหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีการชักธงชาติ หันไปทางธงชาติและยืนเคารพธงชาติจนกระทั่งเพลงจบลงหรือชักธงเรียบร้อยแล้ว
  16. กฎหมายเอาไว้ว่า "ห้ามกระทำการเหยียดหยามต่อธงชาติ" เช่น การทำลายธงชาติ การถ่มน้ำลาย การใช้เท้าเหยียบ และการกระทำอื่นอันไม่เหมาะสมต่อธงชาติ
  17. การกระทำการใดๆ ต่อเครื่องหมายที่แสดงถึงความเป็นรัฐ เพื่อเหยียดหยาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  18. การกระทำการใดๆ ต่อ เพื่อเหยียดหยามต่อธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงชาติ จะต้องระวางโทษจำคุมไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้้งปรับ
สุดท้ายนี้ผมหวังว่า บทความนี้หรือบทความเกี่ยวกับ ธงชาติไทย บทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับหลายๆ ท่าน หรือสำหรับสำน้องๆ ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับ ธงชาติไทย ก็คงได้ประโยชน์จากความนี้และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย ^_^

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า