เศรษฐกิจพอเพียง หลายคนได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว "เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง อะไร ?" เรามาทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องชัดเจนกันดีกว่า "เศรษกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางเพื่อการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยได้ชี้แนะพสกนิกรเกี่ยวกับเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" มายาวนานกว่า 30 ปี โดยเฉพาะในการที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 พระองค์ก็ทรงยิ่งเน้นย้ำแนวทางนี้ เพื่อให้พสกนิกรสามารถที่จะแก้ไขปัญหา และอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 เอาไว้ว่า :-
นอกจากพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ไว้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงได้ให้พระราชดำรัสเอาไว้ในวารสารชัพพัฒนาอีกว่า :-
และในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตอนปีพุทธศักราช 2540 พระองค์ก็ได้ทรงเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ในพระราชดำรัสของพระองค์อีกว่า :-
"เศรษฐกิจพอเพียง นั้นเป็นทางสายกลาง" กล่าวคือ เป็นเศรษฐกิจแบบพอประมาณ ไม่ใช่อดอยากขาดแคลน ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีแผล มีน้อยใช้น้อยไม่ฟุ่มเฟือย มีมากก็ต้องรู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น และต้องรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกัน ส่วนในระดับของการพัฒนาประเทศ ก็ควรใช้ซึ่งหลักการดังกล่าว พัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและมีคุณธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีเหตุมีผลในการใช้จ่ายที่เหมาะสม หากทำได้เช่นนี้ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตนเองและประเทศชาติ
"เศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความว่า ต้องทำกิน ทำใช้ ทำเองไปซะเสียทุกอย่าง" อะไรที่ทำได้เองก็ทำ อะไรทำไม่ได้ก็ให้คนอื่นทำ แต่จะต้องมีการบริการจัดการที่ดี เริ่มจากการพึ่งตนเองในระดับครอบครัวและไปสู่ชุมชนเครือข่าย ทำงานเป็นองค์กรชุมชม เป็นสหกรณ์ และไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงระดับชาติ จากเศรษฐกิจพื้นบ้านไปสู่เศรษฐกิจแบบก้าวหน้า ทำธุรกิจการค้าอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้อย่างมั่นคง
"เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การถอยหลังกลับไปอยู่ในยุคโบราณ" ไม่ใช่การที่ผู้คนต้องหากินอยู่กับธรรมชาติเหมือนแต่ก่อน ไม่มีการสะสม ซึ่งมันเป็นไม่ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพราะสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิงและอีกอย่างทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ก็หมดไป ไม่มีเหมือนในอดีต มนุษย์ก็มีมากขึ้น ดังนั้นมันจึงไม่มีทางเป็นไปได้ว่า จะใช้ชีวิตอยู่เหมือนกับยุคโบราณ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงไม่ใช่เรื่องของการถอยหลังสู่ยุคโบราณ แต่ "เศรษฐกิจพอเพียง" คือ การสืบทอดคุณค่าของอดีต ที่มนุษย์สามารถจัดการชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ มิใช่เอาแต่พึ่งพาสิ่งอื่นอยู่ตลอด เหมือนอย่างกับที่มนุษย์บางคนในปัจจุบันกำลังทำ และนี้เองคือ ความเข้าใจเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ถูกต้องที่สุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 เอาไว้ว่า :-
" ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ "
นอกจากพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ไว้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงได้ให้พระราชดำรัสเอาไว้ในวารสารชัพพัฒนาอีกว่า :-
" เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต และรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนอาคารเอาไว้นั้นเอง และสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่ที่เสาเข็ม "
และในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตอนปีพุทธศักราช 2540 พระองค์ก็ได้ทรงเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ในพระราชดำรัสของพระองค์อีกว่า :-
" การเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า พอเพียงกับตัวเอง "
"เศรษฐกิจพอเพียง นั้นเป็นทางสายกลาง" กล่าวคือ เป็นเศรษฐกิจแบบพอประมาณ ไม่ใช่อดอยากขาดแคลน ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีแผล มีน้อยใช้น้อยไม่ฟุ่มเฟือย มีมากก็ต้องรู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น และต้องรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกัน ส่วนในระดับของการพัฒนาประเทศ ก็ควรใช้ซึ่งหลักการดังกล่าว พัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและมีคุณธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีเหตุมีผลในการใช้จ่ายที่เหมาะสม หากทำได้เช่นนี้ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตนเองและประเทศชาติ
"เศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความว่า ต้องทำกิน ทำใช้ ทำเองไปซะเสียทุกอย่าง" อะไรที่ทำได้เองก็ทำ อะไรทำไม่ได้ก็ให้คนอื่นทำ แต่จะต้องมีการบริการจัดการที่ดี เริ่มจากการพึ่งตนเองในระดับครอบครัวและไปสู่ชุมชนเครือข่าย ทำงานเป็นองค์กรชุมชม เป็นสหกรณ์ และไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงระดับชาติ จากเศรษฐกิจพื้นบ้านไปสู่เศรษฐกิจแบบก้าวหน้า ทำธุรกิจการค้าอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้อย่างมั่นคง
"เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การถอยหลังกลับไปอยู่ในยุคโบราณ" ไม่ใช่การที่ผู้คนต้องหากินอยู่กับธรรมชาติเหมือนแต่ก่อน ไม่มีการสะสม ซึ่งมันเป็นไม่ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพราะสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิงและอีกอย่างทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ก็หมดไป ไม่มีเหมือนในอดีต มนุษย์ก็มีมากขึ้น ดังนั้นมันจึงไม่มีทางเป็นไปได้ว่า จะใช้ชีวิตอยู่เหมือนกับยุคโบราณ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงไม่ใช่เรื่องของการถอยหลังสู่ยุคโบราณ แต่ "เศรษฐกิจพอเพียง" คือ การสืบทอดคุณค่าของอดีต ที่มนุษย์สามารถจัดการชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ มิใช่เอาแต่พึ่งพาสิ่งอื่นอยู่ตลอด เหมือนอย่างกับที่มนุษย์บางคนในปัจจุบันกำลังทำ และนี้เองคือ ความเข้าใจเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ถูกต้องที่สุด
ป้ายกำกับ :
สาระน่ารู้